หน้าหลัก > ข่าว > ข่าวประชาสัมพันธ์ > "ตีประเด็นและโต้แย้งให้ติดคริด้วย Critical thinking"
"ตีประเด็นและโต้แย้งให้ติดคริด้วย Critical thinking"

ผู้ดูแลเว็บ admin
2020-11-25 10:35:57




กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดย อาจารย์พชร วังมี   เรื่อง  "ตีประเด็นและโต้แย้งให้ติดคริด้วย Critical thinking"

โต้แย้งอย่างสร้างสรรค์ไม่สาดคำด่า ไม่โปรย Hate speech สร้างการเปิดใจรับฟังข้อมูลของกันและกันรวมถึงการหาข้อเท็จจริงของข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์ สามารถทำได้ด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)

กิจกรรมแนะแนว : ส่วนตัวและสังคม

บทนำ

         พอเทคโนโลยีพัฒนา การโต้แย้งกันก็พัฒนาตาม จาก Face to Face (ประจันหน้า) กลายเป็นผ่าน Social media และบ่อยครั้งการโต้แย้งนั้น เต็มไปด้วย อารมณ์ ขาดเหตุผล ไม่รับฟังเหตุผลของกันและกันรวมถึงการพิจารณาชุดข้อมูลเพื่อเอามาหักล้างกัน แต่กลับใช้ด่าทอ และใช้แต่ Hate speech ซึ่งเห็นได้ทั่วไปตาม Page ข่าว หรือเวลามีข้อมูลอะไรแชร์จะพบเห็นได้บ่อยที่เป็นการโต้แย้งที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการโต้แย้งที่ไม่ได้ข้อสรุปอีกทั้งไม่เกิดความเจิรญงอกงามทางสติปัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งเสี่ยงจะถูกฟ้องหมิ่นประมาทด้วย(อันนี้อันตราย)

         Critical Thinking จึงเป็นอีกคำตอบหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเรานั้นที่ใกล้ชิดการใช้สื่อ Social media มากที่สุด อีกทั้งยังเป้นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ที่จะได้ช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อหาข้อเท็จจริง ไม่ด่วนสรุป โดยผลได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำมาพัฒนาทักษะการโต้งแย้งอย่างมีวิจารณญานให้กับนักเรียนเพราะการที่จะโต้แย้งอย่างมีวิจารณญาณได้นั้นต้องเริ่มจากการรับฟังเหตุผลของอีกฝ่าย ถึงสามารถเริ่มต้นการพิจารณาและหาข้อมูลมาหักล้างกัน ซึ่งมันจะดีกว่าการมาด่าทอกันด้วย Hate speech อย่างเห็นได้ชัด จึงเป้นที่มาของกิจกรรมนี้ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่ากิจกรรมนี้ไม่ใช่โต้วาทีแบบวิชาภาษาไทย แต่ดัดแปลงการให้คล้ายกับเวลาเราโต้งแย้งใน Facebook หรือสื่อโซเชี่ยลต่างๆ ครับ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อฝึกการโต้แย้งอย่างมีวิจารณญาน(Critical Thinking)

2.ฝึกการยอมฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน นำมาสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละฝ่าย

3.ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อเท็จจริงที่จะทำมาใช้ในการโต้แย้ง

4.ฝึกการโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

         ให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Critical Thinking โดยการยกประเด็นที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกัน เพื่อให้นักรเยนวิเคราะห์ในแต่ละมุมมองของแต่ละฝ่าย จากนั้นให้อธิบายความเป็น Fact กับ Opinion ว่า ข้อมูลไหนเป็นข้อเท็จจริงหรือความเห็นส่วนตัว เพื่อจะได้แยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น ในการวิเคราะห์ข้อความที่เขาโต้เถียงกัน จากนั้นก็เริ่มกิจกรรมได้เลยครับ

ขั้นกิจกรรม

         1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มตามชอบกลุ่มละเท่าๆกัน และให้ตั้งชื่อกลุ่มด้วยนะครับ

         2.ครูกับนัเรียนร่วมกันหาหัวข้อโต้แย้ง เอาอันที่เป็นกระแสจะดีมากครับ เช่น “หอม = คุกคามทางเพศ?” , ”ทรงผมนักเรียน ตามระเบียบ หรือ อิสระ” เป็นต้นครับ แนะนำว่าอย่าเอาหัวข้อที่มันมีถูกผิดชัดเจน ให่เอาประเด็นที่มองได้หลายมุมจะทำให้การโต้แย้งมีการหาข้อมูลกันสนุกมากครับ

         3.สุ่มจับคู่ว่ากลุ่มไหนจะโต้แย้งกับกลุ่มไหน และจับฉลากฝ่าย “ค้าน” และ”ฝ่ายเสนอ” รวมถึงประเด็นที่จะโต้แย้ง (ถ้ามีกลุ่มไหนเรียกร้องกันโดยส่วนตัวก็จัดให้เลยครับ)

กติกา

1..แต่ละฝ่ายจะมีป้าย "โต้แย้ง" กับ "แทน" อย่างละ 1 ป้าย

2.ในกิจกรรมนี้การเปิดประเด็นไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายเสนอ จะเป็นค้านก็ได้ เหมือนเวลาเราเถียงกันในเฟสที่จะเป็นความคิดมุมไหนก็สามารถเปิดประเด็นได้เลย แต่ในกิจกรรมนี้เราจะใช้การเป่ายิ้งฉุบกัน ใครชนะได้เปิดก่อน

3.แต่ละคนจะมีเวลาพูด 1.30 นาที หมดหนึ่งคน จะสลับไปอีกฝ่าย พูดจนกว่าจะครบทุกคน

4. ระหว่างที่ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายถ้ารู้สึกอยากจะวอร์ ก็สามารถยกป้าย "โต้แย้ง" ได้ เพื่อขอสิทธิ์ในการโต้แย้งแบบ Face to Face กับอีกฝ่ายได้ทันที (มันจะสนุกตรงนี้แหละ)เวลาจะ +เพิ่ม 1.30 นาที พอหมดเวลาแล้วจะถือว่าเป็นสิทธิ์พูดของฝ่ายถูกโต้แย้ง

5. ถ้าเราเห็นเพื่อนในทีมเรา ถูกอีกฝั่งโต้แย้งจนดูท่าจะสู้ไม่ไหวสามารถใช้สิทธิ์พูดแทนได้ โดยยกป้าย"แทน" แต่มีเงื่อนไขว่าคนที่จะยกป้ายแทนนั้นจะต้องเป็นคนที่ใช้สิทธิ์อภิปรายไปแล้วเท่านั้น และยกป้าย "แทน" ได้แค่ครั้งเดียว (กันการพูดคนเดียวจนในทีมไม่ได้พูดสักคน) ป.ล.คนที่ถูกพูดแทนก็ถือว่าถูกใช้สิทธิ์พูดไปแล้วนะครับ

6.ผลแพ้ชนะ อยู่ที่การโหวตของผู้ชมซึ่งถือเป็นกรรมการซึ่งก็คือนักเรียนคนอื่นที่นั่งชม โดยพิจารณาถึงความมีเหตุผลของแต่ละฝ่าย และพิจารณาถึงความเป็น Fact กับ Opinion ของแต่ละฝ่าย

ขั้นสรุป

         พอโหวตหากลุ่มที่ชนะและกลุ่มที่แพ้แล้ว ก็ให้ครูสรุปประเด็นที่นักเรียนแย้งกัน และให้ Feedback การโต้แย้งของแต่ละกลุ่ม หรือจะสุ่มนักเรียนที่นั่งฟังมาให้ Feedback แต่ละกลุ่มก็ได้ครับ เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช Critical thinking ในการโต้แย้ง และก่อนแยกย้ายให้แต่ละฝ่ายจับมือกันแสดงถึงความมีน้ำใจต่อกันไม่ติดใจต่อกัน



ที่มา : 

Facebook  Petch Pachara    https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=3038774989560577&id=100002843173746 

Inskru : https://inskru.com/idea/-MKcM94bnviyu46Ii8xh